บริษัท เอสดับบลิวอาร์ เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ ซัพพลาย จำกัด
363 หมู่ 9 ต.โคกกรวด อ.เมือง จ.นครราชสีมา 30280
โทร 088-377-7651,044-756-550, แฟกซ์ 044-756-551
email: swr.rojanin@gmail.com

ระบบส่งน้ำ

กระบวนการผลิตและส่งจ่ายน้ำประปา

1.ระบบสูบน้ำดิบ (Raw Water Intake)โรงกรองน้ำปทุมธานีรับน้ำดิบจากแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณตำบลบ้านปทุมเพื่อใช้ในกระบวนการผลิตน้ำประปา โดยเริ่มจากตะแกรงหยาบและตะแกรงละเอียด ซึ่งทำหน้าที่ในการดักวัชพืชและสิ่งแปลกปลอมที่มากับน้ำดิบก่อนที่น้ำดิบจะถูกสูบส่งเข้าสู่กระบวนการผลิต ทั้งนี้ในการสูบน้ำดิบเข้าสู่ระบบผลิต ใช้เครื่องสูบน้ำแบบจุ่มแช่ (Submersible Pump) ซึ่งควบคุมการเดินระบบผ่านระบบคอมพิวเตอร์ (SCADA) 






2. ระบบกวนเร็ว (Rapid Mixing Unit)
น้ำดิบที่ถูกสูบส่งผ่านเส้นท่อ จะเดินทางมายังระบบกวนเร็วซึ่งจะมีการเติมสารเคมีหลัก ในการผลิตน้ำประปาเพื่อจุดประสงค์ต่างๆ ดังนี้

1. สารส้มน้ำ เติมเพื่อสร้างตะกอนขนาดเล็ก (Coagulation)
2. คลอรีน เติมเพื่อกำจัดเชื้อโรคเบื้อต้น
3. ปูนขาว เติมเพื่อปรับปรุงภาพน้ำให้มีค่าเป็นกลาง
4. ถ่านกัมมันต์ เติมเพื่อกำจัดสารตกค้างจากสารเคมี และกำจัดสี
5. โพลิเมอร์ เติมเพื่อรวมตะกอนขนาดเล็กๆให้มีขนาดใหญ่ขึ้น (Flocculation)
จากนั้นน้ำดิบที่ผ่านการเติมสารเคมีหลักแล้วจะถูกปล่อยให้ไหลผ่านรางกระจายน้ำแบบเปิดเข้าสู่ถังตกตะกอน

3. ระบบตกตะกอน (Clarifier) 
น้ำดิบที่ผ่านการเติมสารเคมีแล้วจะไหลเข้าสู่ก้นถังตกตะกอน (Clarifier Tank) เพื่อให้เกิดการรวมตัวกันของตะกอนขนาดเล็กจำนวนมาก กลายเป็นตะกอนที่มีขนาดใหญ่และมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น โดยตะกอนจะยกตัวขึ้นตามการไหลของน้ำประมาณสองในสามของถัง น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นของตะกอนจะพอดีกับแรงยกที่เกิดจากความเร็วของน้ำที่ไหลขึ้น เกาะตัวกันเป็นชั้นตะกอน (Sludge Blanket) ซึ่งจะทำหน้าที่คอยดูดซับตะกอนที่ตามขึ้นมา ส่วนน้ำใสที่ผ่านชั้นตะกอนจะไหลล้นเข้ารางรับน้ำเพื่อเข้าสู่ถังกรองทรายต่อไป

เมื่อเดินระบบได้ระยะหนึ่งจะมีตะกอนสะสมมากขึ้นเรื่อยๆ จึงต้องทำการกำจัดตะกอนโดยระบายตะกอนส่วนเกินออกผ่านกรวยรับตะกอนเพื่อเข้าสู่กระบวนการกำจัดตะกอนต่อไป 


4. ระบบกรองทราย (Sand Filter)
ระบบกรองทราย จะรับน้ำใสจากระบบตกตะกอน โดยให้น้ำไหลผ่านชั้นทรายตามแรงโน้มถ่วงโลก (Gravity Flow) เพื่อกรองตะกอนขนาดเล็ก, สารแขวนลอย และสิ่งสกปรกที่หลุดออกมาจากระบบตกตะกอนออก ทำให้น้ำสะอาดและใสมากขึ้น







5. ระบบกำจัดเชื้อโรค (Post Chlorination)

ในขั้นตอนนี้จะมีการเติมคลอรีนซึ่งถือเป็นขั้นตอนสุดท้ายของกระบวนการผลิต เพื่อกำจัดเชื้อโรคและจุลชีพต่างๆ และรักษาปริมาณคลอรีนคงเหลืออยู่ให้อยู่ในค่าควบคุม เพื่อทำให้เกิดความมั่นใจว่าคุณภาพน้ำประปาที่สูบจ่ายมีความสะอาดและปลอดจากเชื้อโรคเมื่อถึงมือผู้ใช้น้ำ

6. ถังเก็บน้ำใส (Clear Water Storage Tank)
ทำหน้าที่พักน้ำใสและสำรองน้ำเพื่อสูบส่งเข้าเก็บในอ่างเก็บน้ำของสถานีจ่ายน้ำต่างๆ 


7. ระบบส่งน้ำจากโรงผลิตน้ำประปา (Machinery Room) 
ทำหน้าที่สูบส่งน้ำไปยังอ่างเก็บน้ำของสถานีจ่ายน้ำต่างๆ และสูบจ่ายน้ำประปาให้ผู้ใช้น้ำในพื้นที่ใกล้เคียง โดยใช้เครื่องสูบส่งน้ำแบบหอยโข่ง (Centrifugal Pump) โดยการควบคุมระบบสูบส่งน้ำถูกควบคุมผ่านทางระบบคอมพิวเตอร์ (SCADA) 

การส่งจ่ายน้ำประปา
สถานีจ่ายน้ำ (Distribution Stations) เป็นจุดที่สำรองน้ำประปาจากกระบวนการผลิต เพื่อทำการส่งจ่ายน้ำประปาให้แก่การประปาส่วนภูมิภาคหรือผู้ใช้น้ำ โดยสั่งการผ่านระบบคอมพิวเตอร์ (SCADA).ซึ่งควบคุมแรงดันน้ำประปาที่จ่ายตามความต้องการน้ำประปาในพื้นที่นั้นๆ ในขั้นตอนการส่งจ่ายน้ำบริษัทฯ มีสถานีเพิ่มแรงดัน 1 แห่ง และ สถานีจ่ายน้ำ 3 แห่ง ได้แก่

สถานีจ่ายน้ำรังสิต สถานีจ่ายน้ำธรรมศาสตร์
  
สถานีจ่ายน้ำปทุมธานี สถานีเพิ่มแรงดัน
  
โดยสถานีจ่ายน้ำรังสิตและธรรมศาสตร์จ่ายน้ำให้แก่ผู้ใช้น้ำในพื้นที่ให้บริการโซนรังสิต และสถานีจ่ายน้ำปทุมธานีจ่ายน้ำให้แก่ผู้ใช้น้ำในพื้นที่ให้บริการโซนปทุมธานี ส่วนสถานีเพิ่มแรงดันทำหน้าที่สนับสนุนการจ่ายน้ำของสถานีรังสิตให้เพียงพอกับความต้องการใช้น้ำในโซนรังสิต

0 comments:

Post a Comment