บริษัท เอสดับบลิวอาร์ เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ ซัพพลาย จำกัด
363 หมู่ 9 ต.โคกกรวด อ.เมือง จ.นครราชสีมา 30280
โทร 088-377-7651,044-756-550, แฟกซ์ 044-756-551
email: swr.rojanin@gmail.com

Friday, June 6, 2014

ระบบ BOILER

1. หม้อไอน้ำแบบท่อไฟ 80%

หม้อไอน้ำแบบท่อไฟ เป็นหม้อไอน้ำที่มีโครงสร้างง่ายๆ ความร้อนที่เกิดจากการเผาไหม้ของเชื้อเพลิงในห้องเผาไหม้ (Fire Box) ถูกส่งผ่านเข้าภายในท่อเหล็กซึ่งมีจำนวนมาก ประกอบอยู่ตามยาวของหม้อไอน้ำ ภายนอกของท่อไฟมีน้ำอยู่โดยรอบ ความร้อนจากการเผาไหม้ จะทำให้น้ำที่อยู่รอบนอกท่อไฟและห้องเผาไหม้ร้อนและเดือดเปลี่ยนสภาพเป็นไอน้ำ ตลอดความยาวที่ไฟวิ่งผ่านตั้งแต่ห้องเชื้อเพลิงไปจนถึงปล่องควัน


หม้อไอน้ำประเภทนี้ ส่วนมากมีขนาดเล็กความดันต่ำ โดยทั่วไปที่ใช้ความดันไม่ควรเกิน 150 ปอนด์ต่อตารางเมตรนิ้ว อัตราการผลิตไอน้ำมีขนาดตั้งแต่ 15,000 ปอนด์ต่อชั่วโมงลงมา ไอน้ำที่ได้
นำไปใช้กับเครื่องจักรไอน้ำและเครื่องจักรที่ให้ความร้อนต่างๆ หม้อไอน้ำแบนี้ยังใช้กันมาก เช่น
 หัวจักรรถไฟ, เรือกลไฟ, โรงสีไฟ, โรงอบไม้, โรงงานกระดาษ, โรงงานอาหารสัตว์,
โรงงานผลิตอาหารสำเร็จรูป, โรงงานสัปปะรดกระป๋อง เป็นต้น

ข้อดีของหม้อไอน้ำแบบท่อไฟ

  1. โดยที่น้ำอยู่นอกท่อไฟ และมีปริมาตรมากจึงทำให้หม้อไอน้ำแบบน้ำไม่สั่นหรือไม่สะเทือนได้ง่ายขณะปฏิบัติงาน แม้ว่าอัตราใช้ไอน้ำอาจจะไม่สม่ำเสมอตลอดเวลา หรืออัตราการเผาไหม้ไม่คงที่สม่ำเสมอก็ตาม หม้อไอน้ำแบบท่อไฟจึงง่ายต่อการใช้งาน และแน่นอนมาก เหตุผลก็คือ เมื่อหม้อไอน้ำมีน้ำบรรจุอยู่ด้วยปริมาณมากๆ จึงเท่ากับเป็นการสะสมพลังงานเป็นจำนวนมาก พลังงานจำนวนนี้จะอยู่ในรูปของความดันและอุณหภูมิ เมื่อใช้ไอน้ำไปความดันก็ไม่ค่อยเปลี่ยน แปลงมาก
  2. ราคาถูก ดังนั้น ในโรงงานอุตสาหกรรมขนาดเล็ก จึงใช้หม้อไอน้ำแบบท่อไฟเป็นส่วนใหญ่
  3. ไม่ต้องใช้น้ำเลี้ยงที่มีคุณภาพดีนัก เพราะตะกรันเกาะอยู่ที่ผิวนอกของท่อทำความสะอาดง่ายจึงเท่ากับเป็นการลดค่าใช้จ่ายในการปรับสภาพน้ำในบางแห่งใช้น้ำที่ผ่านการกรองเท่านั้นก็ใช้ได้

ข้อเสียของหม้อไอน้ำแบบท่อไฟ

  1. การเริ่มติดเตาชนิดนี้กินเวลานาน เพราะมีน้ำบรรจุอยู่มากกินเวลาเป็นชั่วโมงๆ กว่าจะได้อุณหภูมิ
  2. และความดันที่ต้องการ
  3. เมื่อเทียบน้ำหนักต่อจำนวนไอน้ำทั้งหม้อไอน้ำแบบท่อไฟกับหม้อไอน้ำแบบท่อน้ำ หม้อไอน้ำ
  4. แบบท่อไฟจะหนักกว่า
  5. ประสิทธิภาพในการถ่ายเทความร้อน (Heat Transfer Efficency) ไม่ดีเท่าที่ควร เพราะการ
  6. ถ่ายเทความร้อนไม่ได้ใช้การแผ่รังสีความร้อน (Radiation) ให้เป็นประโยชน์เพียงพอ
  7. ในกรณีเกิดระเบิดจะมีอันตรายมาก เพราะมีทั้งน้ำร้อนและไอน้ำจำนวนมากสะสมอยู่ภายใน
  8. หม้อไอน้ำแบบท่อไฟไม่สามารถผลิตไอน้ำที่มีความดันสูงๆ ได้เกิน 250 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว 
  9. เพราะพื้นที่ของผิวน้ำที่สัมผัสกับไอน้ำมีมาก ไอน้ำจึงอยู่ในรูปไอน้ำอิ่มตัว (Satura ted Steam)


2. หม้อไอน้ำแบบท่อน้ำ 15%

Water Tube Boiler - หม้อ
ไอน้ำประเภทนี้ การสร้างมีบาง
อย่างที่แตกต่างกับหม้อไอน้ำ
แบบท่อไฟคือ จัดทำให้น้ำภาย
ในหม้อไอน้ำแยกลงมา
อยู่ในหมู่ท่อน้ำและภายนอก
ของท่อเหล่านี้ได้รับความร้อน
จากเปลวไฟ
จากการเผาไหม้ของเชื้อเพลิง
ตลอดทางที่ไฟผ่านหมู่ท่อน้ำ
 หม้อไอน้ำประเภท
ท่อน้ำเป็นหม้อไอน้ำขนาดใหญ่
ความดันไอน้ำตั้งแต่ 150 ปอนด์
ต่อตาราง
นิ้วขึ้นไป และสามารถผลิตไอน้ำ
ได้มาก ไอน้ำที่ผลิตได้ส่วนมากจะเป็นไอน้ำร้อนจัด (Superheated Steam) ใช้กับเครื่องกังหันไอน้ำ
(Power Plant), โรงงานน้ำตาล, โรงงานกระดาษ, โรงกลั่นน้ำมัน, โรงงานทำน้ำมันปาล์ม, เรือเดินทะเล
ฯลฯ

ข้อดีของหม้อไอน้ำแบบท่อน้ำ

  1. การไหลเวียนของน้ำกระทำได้ดี โดยธรรมชาติ เนื่องจากการจัดวางท่อจะอยู่ในลักษณะเป็นวงจร เมื่อการไหลเวียนดีการถ่ายความร้อนก็ดีด้วย
  2. การถ่ายเทความร้อน ด้วยการแผ่รังสีกระทำได้ดี
  3. ใช้เวลาสั้นในการเริ่มจุดเตา
  4. สามารถผลิตไอน้ำที่มีความดันสูง ๆ ได้
  5. เมื่อเกิดการระเบิดจะระเบิดเพียงท่อเดียวหรือสองท่อ ซึ่งเท่ากับเป็นการลดอันตรายลง

ข้อเสียของหม้อไอน้ำแบบท่อน้ำ

  1. ราคาแพงกว่า
  2. ทำความสะอาดลำบาก
  3. เมื่อมีการใช้งานที่ต้องการความดันไม่คงที่ ไอน้ำก็จะไม่คงที่ด้วย
  4. ต้องใช้น้ำเลี้ยงที่มีคุณภาพที่ดีคือ ต้องใช้น้ำอ่อนมากๆ น้ำที่ใช้จึงมีราคาแพง และยังอาจพบ
  5. ปัญหาการกำจัดน้ำเสียอีกด้วย


3. หม้อไอน้ำไฟฟ้า 5%

หม้อไอน้ำที่ใช้งานในประเทศไทยประมาณ 80% จะเป็นหม้อไอน้ำแบบท่อไฟที่มีความดันอนุญาตใช้งานสูงสุด 10 บาร์ (150 psi ) ส่วนใหญ่เป็นการใช้งานไอน้ำในกระบวนการให้ความร้อน ( heating process ) ที่มีอุณหภูมิไม่เกิน 180 องศาเซลเซียส เนื่องจากถ้าอุณหภูมิสูงกว่านี้ หรือใช้ในงานทางด้านกำลัง เช่น การหมุนกังหันไอน้ำ จะใช้หม้อไอน้ำแบบท่อน้ำที่มีความดันอนุญาตใช้งานสูงขึ้น


นอกจากนี้ ในกระบวนการให้ความร้อนที่มีอุณหภูมิสูงกว่า 210 องศาเซลเซียส บางโรงงานอุตสาหกรรมอาจจะใช้หม้อต้มน้ำมัน
( hot oil, thermal oil generator ) แทนหม้อไอน้ำแบบท่อน้ำ


ทำไมต้องตรวจสอบหม้อไอน้ำ

Boiler ก็ไม่แตกต่างอะไรไปจากรถที่ต้องการการ
บำรุงรักษาและการตรวจสอบ เป็นกิจวัตรที่ต้อง
ทำอย่างต่อเนื่อง บุคคลากรที่ทำหน้าที่ในการ
บำรุงรักษา ผู้ควบคุมหม้อไอน้ำ ผู้ตรวจสอบหม้อ
ไอน้ำ ล้วนแต่เป็นองค์ประกอบที่มีความสำคัญ
เป็นอย่างยิ่งในการใช้งานหม้อไอน้ำ


Boiler ควรได้รับการตรวจสอบทั้งสภาพภายใน
และภายนอกเพื่อพิจารณาสภาพ ณ ปัจจุบันของ
 boiler วิศวกรผู้ตรวจและทดสอบหม้อไอน้ำจะ
ตรวจและทดสอบอุปกรณ์ความปลอดภัยทุกตัวที่อยู่กับ boiler และอุปกรณ์ความปลอดภัยทุกตัวต้องอยู่ในสภาพที่ใช้งานได้


น้ำแห้งหรือระดับน้ำที่ต่ำ การระเบิดในห้องเผาไหม้ ความดันและอุณหภูมิที่สูงเกิน ล้วนแล้วแต่เป็นสาเหตุ
หลักของการเกิดอุบัติเหตุของหม้อไอน้ำและสิ่งสำคัญที่เป็นผลโดยตรงคือการผิดพลาดหรือปราศจากการ
ดูแลและมองข้ามอุปกรณ์ซึ่งเกี่ยวกับความปลอดภัย ความบกพร่องในการดูแลรักษา หรือผู้ควบคุมหม้อไอ
น้ำขาดการฝึกฝนหรือขาดความชำนาญ จากสาเหตุที่กล่าวมานี้ทำไมถึงมีความจำเป็นที่ต้องมี วิศวกร
ผู้ตรวจและทดสอบหม้อไอน้ำ


เนื่องจากหม้อไอน้ำเป็นเครื่องจักรที่อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สินของโรงงานและผู้ที่อยู่อาศัยใกล้เคียง ทางราชการได้ตระหนักถึงอันตรายเหล่านี้จึงได้ออกกฎหมายเพื่อควบคุมการใช้หม้อไอน้ำให้มีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น สำหรับหม้อไอน้ำของโรงงานอุตสาหกรรมก็มีกฎหมายควบคุมการใช้งานเพื่อความปลอดภัย โดยกระทรวงอุตสาหกรรมและกระทรวงแรงงาน แต่สำหรับหม้อไอน้ำที่ใช้ในโรงแรม โรงพยาบาล และสถานศึกษา จะถูกควบคุมโดยกระทรวงแรงงาน นอกจากนี้ไอเสียจากปล่องไฟยังถูกควบคุมโดยกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม


ส่วนประกอบโดยทั่วไปของหม้อน้ำ
เปลือกหม้อไอน้ำ (Boiler Shell)
เปลือกหม้อไอน้ำ (Boiler Shell)
ผนังหน้าและหลัง (End Plate)
ผนังหน้าและหลัง (End Plate)
ท่อไฟใหญ่ (Main Furnace)
ท่อไฟใหญ่ (Main Furnace)
ท่อน้ำ (Water Tube)
ท่อน้ำ (Water Tube)
Drum and Header
Drum and Header
เหล็กยึดโยง (Stay)
เหล็กยึดโยง (Stay)
ช่องคนลอด (Man Hole), ช่องหัวลอด (Head Hole), ช่องมือลอด (Hand Hole)
ช่องคนลอด (Man Hole), ช่องหัวลอด (Head Hole), ช่องมือลอด (Hand Hole)


อุปกรณ์ประกอบของหม้อน้ำที่สำคัญ
วาล์วนิรภัย (Safety Valve)
วาล์วนิรภัย
(Safety Valve)
วาล์วจ่ายไอ (Main Steam Valve)
วาล์วจ่ายไอ
(Main Steam Valve)
วาล์วระบายน้ำทิ้ง (Surface and Bottom Blow-Down Valve)
วาล์วระบายน้ำทิ้ง (Surface and Bottom Blow-Down Valve)
ปั้มน้ำ (Water Pump)
ปั้มน้ำ
(Water Pump)
อุปกรณ์ควบคุมระดับน้ำ (Water Level Control and Gauge)
อุปกรณ์ควบคุมระดับน้ำ (Water Level Control and Gauge)
เกจวัดความดัน (Pressure Gauge)
เกจวัดความดัน
(Pressure Gauge)
สวิทซ์ควบคุมความดัน (Pressure Switch)
สวิทซ์ควบคุมความดัน
(Pressure Switch)
หัวฉีด (Burner)
หัวฉีด
(Burner)
ฉนวน (Insulation)
ฉนวน
(Insulation)


ขนาดและแรงม้าหม้อน้ำ

อัตราการผลิตไอน้ำ (Steam Rate) หมายถึง ความสามารถผลิตไอของหม้อน้ำได้ในเวลา 1 ชั่วโมง
ที่ความดันบรรยากาศ โดยไอน้ำจะมีอุณหภูมิ
100 องศา C หน่วยที่ใช้เรียกเป็นกิโลกรัม/ชั่วโมง หรือตัน/ชั่วโมง
แรงม้าหม้อไอน้ำ (Boiler Horsepower)
เป็นหน่วยวัดอัตราการผลิตไอน้ำของหม้อน้ำ
อีกแบบหนึ่งโดยกำหนดว่า 1 แรงม้าหม้อน้ำหมาย
ถึง หม้อน้ำที่มีความสามารถผลิตไอน้ำได้ 34.5
ปอนด์ในเวลา 1 ชั่วโมง โดยการทำให้น้ำในหม้อน้ำอุณหภูมิ 100 องศา C กลายเป็นไอ


ไอดงหรือไอแห้งหรือร้อนยิ่งยวด (Superheated Steam) หมายถึง การทำไอ
น้ำอิ่มตัวให้มีอุณหภูมิสูง
มากขึ้นที่ความดันเดิม
ได้มาจากกากรผ่านไอน้ำ
อิ่มตัวเข้าไปในขดท่อที่ถูก
เผาซ้ำจนไอน้ำมีอุณหภูมิ
สูงขึ้น ไอดงเหมาะสำหรับ
ใช้ขับเคลื่อนกังหันไอน้ำ


ประสิทธิภาพของหม้อไอน้ำ
(Boiler Efficiency) เป็นตัว
เลขแสดงความสามารถของ
หม้อน้ำที่เปลี่ยนพลังงาน
ความร้อนของเชื้อเพลิงให้กลายเป็นพลังงานที่ได้จากไอน้ำ คิดเป็นเปอร์เซ็นต์


ประสิทธิภาพหม้อน้ำ   =   ปริมาณไอน้ำที่ผลิตได้ x ค่าความร้อนไอน้ำ   x 100
ปริมาณเชื้อเพลิงที่ใช้ x ค่าความร้อนเชื้อเพลิง



สรุปสาเหตุที่หม้อน้ำระเบิด

  1. น้ำแห้งแล้วปั๊มน้ำเข้าไป
  2. ตะกรันหนามาก
  3. ใช้ความดันเกินความสามารถของหม้อไอน้ำที่ทนได้
  4. ขาดการตรวจสอบเป็นเวลานาน
  5. หม้อน้ำไม่ได้มาตรฐาน


Boiler & Pressure Vessel Service
นอกเหนือจากงานตรวจวิเคราะห์ประจำปีตามกฎหมายโดยสามัญวิศวกรตรวจและทดสอบหม้อน้ำที่ได้รับ
อนุญาตจากกรมโรงงานอุตสาหกรรม ทางบริษัทฯ ยังมีทีมช่างเทคนิคที่มีความชำนาญและวิศวกรควบคุม
ดูแลงานซ่อมหรือสร้าง ให้เป็นไปตามหลักวิศวกรรม ไว้คอยให้บริการกับท่านอันเกิดจากสาเหตุหรือความ
บกพร่องต่างๆ หลังจากการตรวจวิเคราะห์อันสืบเนื่องมาจากอายุการใช้งาน ขาดการบำรุงรักษาหรือการ
ต่อเติม อาทิเช่น
  1. ปรับแต่งการเผาไม้ และการตรวจวัดประสิทธิภาพหม้อไอน้ำ โดยเครื่องวัดก๊าซไอเสียและประสิทธิ
  2. ภาพการเผาไหม้แบบพกพา TESTO-340
  3. ตรวจสอบมลพิษหม้อไอน้ำตามที่กฏหมายกำหนด
  4. ตรวจวัดความหนาของ ท่อน้ำ ท่อไฟ และผนังหม้อไอน้ำ
  5. รับรองสภาพการใช้งานว่ามีสภาพเหมาะสมสามารถนำไปใช้งานได้อย่างปลอดภัยตามข้อกำหนดของมาตรฐานหรือข้อกำหนดของกฎหมาย โดยวิศวกรควบคุมระดับสามัญวิศวกรและวุฒิวิศวกร
  6. การบริการล้าง และซ่อมบำรุง บลาๆๆๆๆ (งานช่างโจ)
  7. งานซ่อม Boiler จำหน่าย Boiler ทั้งเก่าและใหม่
  8. งานติดตั้งเคลื่อนย้าย Boiler ทุกขนาด
  9. งานตรวจสอบ ออกเอกสารรับรอง โดยทีมวิศวกรผู้ชำนาญงาน
  10. งานล้างตะกรันและจำหน่ายน้ำยาเคมีป้องกันตะกรันและสนิม
  11. งานบริการรายปี Yearly Service Contract
  12. ซ่อมและจำหน่ายหัวพ่นไฟทุกระบบพร้อมอุปกรณ์และอะไหล่
  13. งานตรวจเช็ค ปรับแต่ง การเผาไหม้ด้วยเครื่องวัดประสิทธิภาพ
  14. งานหุ้มฉนวน งานเดินท่อต่าง ๆ ท่อน้ำ ท่อสตีม ปล่องควัน
  15. งานซ่อมแซมออกแบบปูนทนไฟ
  16. ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับ Boiler ทุกระบบทั้งเชื้อเพลิงแข็งและน้ำมัน แก็ส LPG

0 comments:

Post a Comment