บริษัท เอสดับบลิวอาร์ เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ ซัพพลาย จำกัด
363 หมู่ 9 ต.โคกกรวด อ.เมือง จ.นครราชสีมา 30280
โทร 088-377-7651,044-756-550, แฟกซ์ 044-756-551
email: swr.rojanin@gmail.com

Saturday, June 7, 2014

Condensate Recovery


Condensate Recovery
clip_image002
       จากกราฟด้านบนแสดงให้เห็นว่าพลังงาน (Enthalpy) ในน้ำคอนเดนเซทซึ่งเป็นพื่นที่สีแดง หากเราไม่นำกลับมาใช้ใหม่จะทำให้สูญเสียพลังงานดังกล่าวนี้ไป สำหรับประโยชน์ในการนำน้ำคอนเดนเซทกลับมาใช้ใหม่สามารถสรุปได้ดังนี้
  1. ลดพลังงานที่สูญเสียไป
  2. ลดปริมาณน้ำสำหรับเติมให้กับหม้อต้ม
  3. ในการเติมน้ำใหม่เข้าหม้อต้มประสิทธิภาพของหม้อต้มจะลดลง
  4. ลดการถ่ายน้ำออกจากหม้อต้ม (blow down) (สำหรับการถ่ายน้ำออกเพื่อลดความเข้มข้นของน้ำที่อยู่ในระบบเนื่องจากน้ำที่ใช้เติมปกติจะมีสารละลายหรืออนุภาคต่าง ๆ เมื่อน้ำบางส่วนระเหยเป็นไปสารดังกล่าวไม่ได้ระเหยไปด้วยจึงเกิดการสะสมของสารเคมีในน้ำที่อยู่ภายในหม้อต้ม) และ ลดพลังงานที่จะสูญเสียไปพร้อมกับการถ่ายน้ำออก
  5. ลดปริมาณสารเคมีที่ใช้ในการบำบัดน้ำสำหรับเติมเข้าระบบ
  6. ลดค่าใช้จ่ายในการบำบัดน้ำ Condensate ก่อนปล่อยออกสู่สิ่งแวดล้อม
ตัวอย่าง   สำหรับหม้อต้มที่ไม่มีการนำคอนเดนเซทกลับมาใช้ใหม่ ใช้การเติมน้ำที่อุณหภูมิปกติแทน
โจทย์กำหนดให้          อุณหภูมิน้ำคอนเดนเซท      90ºC
                          อุณหภูมิน้ำเติมเข้าระบบ       30ºC
                          ค่าพลังงานของน้ำมัน (calorific value) 41.1 MJ/liter
                          ค่าพลังงานสะสมในน้ำ (specific heat) 4.186 kJ/kg K.
- ด้านการประหยัดพลังงานเชื้อเพลิง
พลังงานสำหรับทำให้น้ำ 1 kg มีอุณหภูมิเพิ่มขึ้นเท่า 60ºC เท่ากับ
                1 kg x 60ºC x 4.186 kJ/kg K = 251.16 kJ
สมมุติหม้อต้มสามารถผลิตไอน้ำ 1000 kg/h และ มีน้ำคอนเดนเซทที่ไม่ได้นำกลับมาใช้ใหม่เท่ากับ 30% (300 kg/h) ดังนั้นพลังงานที่ทำให้น้ำ 300 kg/h มีความร้อนเท่ากับ 90ºC เท่ากับ
               251.16 kJ/kg x 300 kg/h = 75.35 MJ/h
ถ้าทำงาน 7 วัน เป็นเวลา 1 ปี คิดเป็น 8400 ชั่วโมง ดังนั้นต้องใช้พลังงานในการให้ความร้อนแก่น้ำทั้งหมดเท่ากับ
               75.35 MJ/h x 8400 h = 633 GJ/per annum
ที่ค่าพลังงานของน้ำมันเตาเท่ากับ 42.5 MJ/litre และสมมุติว่าประสิทธิภาพหม้อต้มเท่ากับ 80% ปริมาณพลังงานที่ได้เท่ากับ
               0.8 x 42.5 = 34 MJ/litre
ดังนั้นต้องใช้ปริมาณน้ำมันเตาสำหรับให้ความร้อนเท่ากับ
               (633 GJ/Year) / (34 MJ/litre) = 18617 litre/Year
ราคาเชื้อเพลิงน้ำมันเตา 16 บาท/litre ดังนั้นคิดเป็นมูลค่า
               18617 litre/year x 16 บาท/litre = 297872 บาท/year
- ด้านการประหยัดน้ำ
ปริมาณน้ำทั้งหมดที่ต้องเติมเพิ่มสำหรับน้ำที่ไม่ได้นำกลับมาใช้ใหม่
               (8400 h/year x 300 kg/h) / 1000 kg/m3 = 2520 m3/year
ค่าน้ำอยู่ที่ประมาณ 13 บาท/m3  ดังนั้นต้องเสียค่าใช้จ่ายในการเติมน้ำเท่ากับ
               2520 m3/year x 13 บาท/m3 =  32760 บาท/year
- ค่าใช้จ่ายในการบำบัดน้ำคอนเดนเซท
ค่าบำบัดน้ำเพื่อปรับค่า TDS และ สารเคมีบำบัดน้ำประมาณ 0.015 บาท/kgสำหรับน้ำปริมาณ 2520 m3/year คิดเป็นเงินเท่ากับ
     2520 m3/year x 1000 kg/m3  x 0.015 บาท/kg = 37800 บาท/year
- รวมค่าใช้จ่ายที่สามารถประหยัดได้ในกรณีน้ำน้ำคอนเดนเซทกลับมาใช้ใหม่
      ด้านการประหยัดพลังงานเชื้อเพลิง       297,872 บาท/year
      ด้านการประหยัดน้ำ                            32,760 บาท/year
      ค่าใช้จ่ายในการบำบัดน้ำคอนเดนเซท     37,800 บาท/year
                                 รวมทั้งสินต่อปี      363,392 บาท
           
การนำคอนเดนเซทที่สกปรกมาใช้ใหม่
         ในบางครั้งน้ำคอนเดนเซทอาจไม่สามารถนำกลับมาใช้อีกรอบได้เนื่องจากมีสิ่งสกปรกซึ่งอาจเกิดจากท่อระบายที่เกิดการผุกกร่อนทำให้น้ำมันจากภายนอกรั่วเข้ามาในท่อระบาย แต่เนื่องจากยังมีพลังงานหลงเหลืออยู่ในน้ำ condensate จึงต้องนำพลังงานดังกล่าวมาใช้ให้ได้มากที่สุด
clip_image002[1]
         จากภาพเป็นตัวอย่างเป็นการนำน้ำคอนเดนเซทกลับมาใช้ใหม่โดยผ่านอุปกรณ์แลกเปลี่ยนความร้อน โดยปล่อยให้น้ำร้อนไหลลงถังพัก น้ำร้อนจะลอยอยู่ด้านบนน้ำเย็นจะอยู่ด้านล่างดังนั้นจึงต่อท่อระบายน้ำออกโดยให้ท่อยาวถึงก้นถังเพื่อให้น้ำเย็นระบายออก สำหรับน้ำที่จะใช้เติมเข้าสู่ระบบจะไหลผ่าน คลอย์ดเพื่อแลกเปลี่ยนความร้อนก่อนเข้าสู่หม้อต้ม
image
          จากภาพน้ำคอนเดนเซทจะถูกแยกไอน้ำ(flash steam) ออกอีกครั้งหนึ่งโดยไอน้ำดังกล่าวจะผ่านคอยล์เพื่อทำให้น้ำในถังพักมีอุณหภูมิสูงขึ้นก่อนนำไปใช้งาน
     
การหาพลังงานที่ได้จากน้ำคอนเดนเซท
ค่าพลังงานจาก Saturated water (170.5 c) at 7 bar
Enthalpy คอนเดนเซทที่ 7 bar (170.5 c)  = 721.4 kJ/kg
Enthalpy คอนเดนเซทที่ 0 bar (100 c)     = 419 kJ/kg
พลังงานที่ได้ = 721.4 – 419 = 302.4 kJ/kg
Enthalpy ของน้ำเป็นไอน้ำที่ 0 bar (100 c) = 2257 kJ/kg
ดังนั้นสัดส่วนไอน้ำ 0 bar ที่ได้ต่อปริมาณคอนเดทเซท 7 bar เท่ากับ
Proportion of flash steam = 302.4/2257
                                                       = 0.134 kg/kg of condensate
จากตัวเลขที่ได้แสดงว่าน้ำคอนเดนเซทที่ 7 bar จำนวน 1 kg เมื่อปล่อยสู่บรรยากาศจะได้ไอน้ำจำนวน 0.134 kg
    
พลังงานจาก Sub-cooled water (170.5 c – 15.0 c) at 7 bar
Enthalpy ของน้ำที่ 7 bar อุณหภูมิ 155c = 721.4 – 4.18(15) = 658 kJ/kg
Enthalpy คอนเดนเซทที่ 0 bar (100 c)  = 419 kJ/kg
พลังงานที่ได้ = 658 – 419 = 239 kJ/kg
Enthalpy ของน้ำเป็นไอน้ำที่ 0 bar (100 c) = 2257 kJ/kg
ดังนั้นสัดส่วนไอน้ำ 0 bar ที่ได้ต่อปริมาณคอนเดทเซท 7 bar ที่อุณหภูมิ 155c เท่ากับ
Proportion of flash steam = 239/2257
                                                          = 0.106 kg/kg of condensate
จากตัวเลขที่ได้แสดงว่าน้ำคอนเดนเซทที่ 7 bar ที่อุณหภูมิ 155cจำนวน 1 kg เมื่อปล่อยสู่บรรยากาศจะได้ไอน้ำจำนวน 0.106 kg

ระบบบำบัดน้ำเสีย

ระบบบำบัดน้ำเสีย อาคาร  และโรงงานอุตสาหกรรม
ระบบผลิตน้ำประปา และระบบปรับปรุงคุณภาพน้ำเพื่องานอุตสาหกรรม เป็นระบบบำบัดหรือกำจัดมวลสารมลทินที่ปนเปื้อนมากับน้ำซึ่งจะมีชนิดและประเภท แตกต่างกันออกไปตามสภาวะแวดล้อมและตามชนิดและประเภทของแหล่งน้ำ แหล่งน้ำดิบดังกล่าวได้แก่น้ำผิวดินน้ำบาดาล    หรือน้ำทะเล  เป็นต้น สารมลทินที่ต้องการบำบัดหรือกำจัดนั้นขึ้นอยู่กับความต้องการใช้งานของน้ำนั้นๆ  ว่าต้องการน้ำไปใช้  ณ. จุดใดและมีคุณภาพหลังการบำบัดหรือภายหลังการปรับปรุงแล้วมีคุณภาพสะอาดเพียงใด เช่นน้ำที่จะนำไปใช้ในการดื่มนั้นจะต้องมีคุณภาพเป็นไปตามมาตรฐานน้ำดื่มขององค์กรอนามัยโลก(WHO) น้ำที่นำไปใช้เกี่ยวกับเทอไบน์ ผลิตไฟฟ้าจะต้องไม่มีสารมลทินประเภทซิลิกา หรือน้ำที่จะนำไปใช้ในกระบวนการแรกเปลี่ยนความร้อนจะต้องมีค่าความกระด้างต่ำ 0-50 พีพีเอ็ม(ขึ้นอยู่กับชนิดประเภทและแรงดันใช้งาน) เป็นต้น  สารมลทินที่ต้องการบำบัดหรือกำจัดได้แก่  ค่าความเป็นกรดเป็นด่าง ค่าความขุ่นใส ค่าปริมาณของสารละลาย  ค่าการนำไฟฟ้าและปริมาณของแบคทีเรียเป็นต้น  อุปกรณ์เครื่องจักรที่บริษัทฯออกแบบก่อสร้างจัดหาและจัดจำหน่าย    เพื่อการบำบัดหรือการกำจัดสารมลทินดังกล่าวได้แก่ระบบบำบัดน้ำเสีย อาคาร  และโรงงานอุตสาหกรรม เป็นระบบบำบัดหรือกำจัดสารมลทิน ที่ปนเปื้อนกับมาน้ำเสีย น้ำเสียเป็นน้ำที่ผ่านขบวนการใช้งานมาแล้ว เช่นน้ำจากการชำระล้างต่างๆ น้ำจากขบวนการผลิตของโรงงาน น้ำที่ผ่านการผสมสารเคมีต่างๆ รวมถึงน้ำที่ถูกใช้แล้วในชีวิตประจำวัน น้ำจากห้องน้ำห้องส้วมเป็นต้น ชนิดและประเภทของน้ำเสียก็จะแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับขบวนการที่นำน้ำไปใช้งานดังนั้นสารที่ปนเปื้อนก็จะมีชนิด ประเภท และปริมาณที่แตกต่างกันออกไป แยกตามประเภทของน้ำเสียออกได้เป็น 2 ประเภท*   น้ำเสียที่เป็นอินทรีย์สาร ซึ่งโดยส่วนใหญ่จะเป็นน้ำเสียที่มาจาก อาคาร บ้านเรือน โรงงานอุตสาหกรรมอาหาร เป็นต้น*   น้ำเสียที่เป็น อนินทรีย์สาร โดยส่วนใหญ่จะเป็นน้ำเสียที่มาจากกระบวนการผลิตของโรงงานอุตสาหกรรม
รูปแบบของ ระบบบำบัดน้ำเสีย อยู่ทั้งหมด 6 แบบ
1.ระบบบำบัดน้ำเสียแบบบ่อปรับเสถียร (Stabilization Pond) ถือว่าเป็นแบบที่ค่าใช้จ่ายต่ำมาก แต่ต้องใช้พื้นที่มาก ระบบบำบัดน้ำเสียที่อาศัยธรรมชาติในการบำบัดสารอินทรีย์ในน้ำเสีย ซึ่งแบ่งตามลักษณะการทำงานได้ 3 รูปแบบ คือ บ่อแอนแอโรบิค (Anaerobic Pond) บ่อแฟคคัลเททีฟ (Facultative Pond) บ่อแอโรบิค (Aerobic Pond) และหากมีบ่อหลายบ่อต่อเนื่องกัน บ่อสุดท้ายจะทำหน้าที่เป็นบ่อบ่ม (Maturation Pond) เพื่อปรับปรุงคุณภาพน้ำทิ้งก่อนระบายออกสู่สิ่งแวดล้อม
2.ระบบบำบัดน้ำเสียแบบบ่อเติมอากาศ (Aerated Lagoon หรือ AL) ค่าใช้จ่ายต่ำ บำรุงรักษาง่าย แต่ต้องมีค่าใช้จ่ายในส่วนของค่าไฟฟ้าสำหรับเครื่องเติมอากาศ ซึ่งค่อนข้างสูง เป็นระบบบำบัดน้ำเสียที่อาศัยการเติมออกซิเจนจากเครื่องเติมอากาศ (Aerator) ที่ติดตั้งแบบทุ่นลอยหรือยึดติดกับแท่นก็ได้ เพื่อเพิ่มออกซิเจนในน้ำให้มีปริมาณเพียงพอ สำหรับจุลินทรีย์สามารถนำไปใช้ย่อยสลายสารอินทรีย์ในน้ำเสียได้เร็วขึ้นกว่า การปล่อยให้ย่อยสลายตามธรรมชาติ ทำให้ระบบบำบัดน้ำเสียแบบบ่อเติมอากาศสามารถบำบัดน้ำเสียได้อย่างมี ประสิทธิภาพ สามารถลดปริมาณความสกปรกของน้ำเสียในรูปของค่าบีโอดี (Biochemical Oxygen Demand; BOD) ได้ร้อยละ 80-95 โดยอาศัยหลักการทำงานของจุลินทรีย์ภายใต้สภาวะที่มีออกซิเจน (Aerobic) โดยมีเครื่องเติมอากาศซึ่งนอกจากจะทำหน้าเพิ่มออกซิเจนในน้ำแล้วยังทำให้ เกิดการกวนผสมของน้ำในบ่อด้วย ทำให้เกิดการย่อยสลายสารอินทรีย์ได้อย่างทั่วถึงภายในบ่อ
3.ระบบบำบัดน้ำเสียแบบบึงประดิษฐ์ (Constructed Wetland) ได้รับความนิยม ใช้เงินลงทุนต่ำ และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างมาก มี 2 ประเภทได้แก่ แบบ Free Water Surface Wetland (FWS) ซึ่งมีลักษณะใกล้เคียงกับบึงธรรมชาติ และแบบ Vegetated Submerged Bed System (VSB) ซึ่งจะมีชั้นดินปนทรายสำหรับปลูกพืชน้ำและชั้นหินรองก้นบ่อเพื่อเป็นตัวกรอง น้ำเสีย หลักการทำงานของระบบ เมื่อน้ำเสียไหลเข้ามาในบึงประดิษฐ์ส่วนต้น สารอินทรีย์ส่วนหนึ่งจะตกตะกอนจมตัวลงสู่ก้นบึง และถูกย่อยสลายโดยจุลินทรีย์ ส่วนสารอินทรีย์ที่ละลายน้ำจะถูกกำจัดโดยจุลินทรีย์ที่เกาะติดอยู่กับพืชน้ำ หรือชั้นหินและจุลินทรีย์ที่แขวนลอยอยู่ในน้ำ
ระบบนี้จะได้รับออกซิเจนจากการแทรกซึมของอากาศผ่านผิวน้ำหรือชั้นหินลงมา ออกซิเจนบางส่วนจะได้จากการสังเคราะห์แสงแต่มีปริมาณไม่มากนัก สำหรับสารแขวนลอยจะถูกกรองและจมตัวอยู่ในช่วงต้น ๆ ของระบบ การลดปริมาณไนโตรเจนจะเป็นไปตามกระบวนการไนตริฟิเคชั่น (Nitrification) และดิไนตริฟิเคชั่น (Denitrification) ส่วนการลดปริมาณฟอสฟอรัสส่วนใหญ่จะเกิดที่ชั้นดินส่วนพื้นบ่อ และพืชน้ำจะช่วยดูดซับฟอสฟอรัสผ่านทางรากและนำไปใช้ในการสร้างเซลล์ นอกจากนี้ระบบบึงประดิษฐ์ยังสามารถกำจัดโลหะหนัก (Heavy Metal) ได้บางส่วนอีกด้วย
4.ระบบบำบัดน้ำเสียแบบแอกทิเวเต็ดสลัดจ์ (Activated Sludge Process) ใช้พื้นที่น้อย แต่ต้องมีอุปกรณ์ ต่างๆ มาก เป็นวิธีบำบัดน้ำเสียด้วยวิธีการทางชีววิทยา โดยใช้แบคทีเรียพวกที่ใช้ออกซิเจน (Aerobic Bacteria) เป็นตัวหลักในการย่อยสลายสารอินทรีย์ในน้ำเสีย ระบบเแอกทิเวเต็ดสลัดจ์เป็นระบบบำบัดน้ำเสียที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย สามารถบำบัดได้ทั้งน้ำเสียชุมชนและน้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม โดยทั่วไปจะประกอบด้วยส่วนสำคัญ 2 ส่วน คือ ถังเติมอากาศ (Aeration Tank) และถังตกตะกอน (Sedimentation Tank)
โดยน้ำเสียจะถูกส่งเข้าถังเติมอากาศ ซึ่งมีสลัดจ์อยู่เป็นจำนวนมากตามที่ออกแบบไว้ สภาวะภายในถังเติมอากาศจะมีสภาพที่เอื้ออำนวยต่อการเจริญเติบโตของ จุลินทรีย์แบบแอโรบิค จุลินทรีย์เหล่านี้จะทำการย่อยสลายสารอินทรีย์ในน้ำเสียให้อยู่ในรูปของ คาร์บอนไดออกไซด์และน้ำในที่สุด น้ำเสียที่ผ่านการบำบัดแล้วจะไหลต่อไปยังถังตกตะกอนเพื่อแยกสลัดจ์ออกจากน้ำ ใส สลัดจ์ที่แยกตัวอยู่ที่ก้นถังตกตะกอนส่วนหนึ่งจะถูกสูบกลับเข้าไปในถังเติม อากาศใหม่เพื่อรักษาความเข้มข้นของสลัดจ์ในถังเติมอากาศให้ได้ตามที่กำหนด และอีกส่วนหนึ่งจะเป็นสลัดจ์ส่วนเกิน (Excess Sludge) ที่ต้องนำไปกำจัดต่อไป สำหรับน้ำใสส่วนบนจะเป็นน้ำทิ้งที่สามารถระบายออกสู่สิ่งแวดล้อมได้
5.ระบบบำบัดน้ำเสียคลองวนเวียน (Oxidation Ditch) เหมาะกับชุมชน ขนาดเล็ก บำบัดน้ำเสียโดยอาศัยจุลินทรีย์มากมายหลายชนิด โดยจุลินทรีย์ที่สำคัญได้แก่ แบคทีเรีย เชื้อรา และโปรโตซัว เป็นต้น ซึ่งสภาวะที่ใช้ในการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์จะเป็นสภาวะแอโรบิค โดยจุลินทรีย์จะใช้สารอินทรีย์ที่อยู่ในน้ำเสียเป็นแหล่งอาหารและพลังงาน เพื่อการเจริญเติบโตและเพิ่มจำนวนของจุลินทรีย์ในระบบ จากนั้นจึงแยกจุลินทรีย์ออกจากน้ำเสียที่ผ่านบำบัดแล้ว โดยวิธีการตกตะกอนในถังตกตะกอน (Sedimentation Tank) เพื่อให้ได้น้ำใส (Supernatant) อยู่ส่วนบนของถังตกตะกอน ซึ่งมีคุณภาพน้ำดีขึ้น และสามารถระบายออกสู่สิ่งแวดล้อมได้
6.ระบบบำบัดน้ำเสียแบบแผ่นจานหมุนชีวภาพ (Rotating Biological Contactor, RBC) เหมาะสำหรับพื้นที่อุตสาหกรรม เพราะดูแลรักษาง่าย แต่มีค่าอุปกรณ์ต่างๆค่อนข้างสูง เป็นการบำบัดน้ำเสียอาศัยจุลินทรีย์แบบใช้อากาศจำนวนมากที่ยึดเกาะติดบนแผ่น จานหมุนในการย่อยสลายสารอินทรีย์ในน้ำเสีย โดยการหมุนแผ่นจานผ่านน้ำเสีย ซึ่งเมื่อแผ่นจานหมุนขึ้นมาสัมผัสกับอากาศก็จะพาเอาฟิล์มน้ำเสียขึ้นสู่ อากาศด้วย ทำให้จุลินทรีย์ได้รับออกซิเจนจากอากาศ เพื่อใช้ในการย่อยสลายหรือเปลี่ยนรูปสารอินทรีย์เหล่านั้นให้เป็น ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ น้ำ และเซลล์จุลินทรีย์ ต่อจากนั้นแผ่นจานจะหมุนลงไปสัมผัสกับน้ำเสียในถังปฏิกิริยาอีกครั้ง ทำให้ออกซิเจนส่วนที่เหลือผสมกับน้ำเสีย ซึ่งเป็นการเติมออกซิเจนให้กับน้ำเสียอีกส่วนหนึ่ง สลับกันเช่นนี้ตลอดไปเป็นวัฏจักร แต่เมื่อมีจำนวนจุลินทรีย์ยึดเกาะแผ่นจานหมุนหนามากขึ้น จะทำให้มีตะกอนจุลินทรีย์บางส่วน หลุดลอกจากแผ่นจานเนื่องจากแรงเฉือนของการหมุน ซึ่งจะรักษาความหนาของแผ่นฟิล์มให้ค่อนข้างคงที่โดยอัตโนมัติ ทั้งนี้ตะกอนจุลินทรีย์แขวนลอยที่ไหลออกจากถังปฏิกิริยานี้ จะไหลเข้าสู่ถังตกตะกอนเพื่อแยกตะกอนจุลินทรีย์และน้ำทิ้ง ทำให้น้ำทิ้งที่ออกจากระบบนี้มีคุณภาพดีขึ้น
ดังนั้นคงต้องพิจรณาว่าพื้นที่หรือโรงงานของท่านเหมาะกับรูปแบบของ ระบบบำบัดน้ำเสีย ประเภทไหน


เป็นระบบบำบัดหรือกำจัดสารมลทิน ที่ปนเปื้อนกับมาน้ำเสีย “น้ำเสียเป็นน้ำที่ผ่านขบวนการใช้งานมาแล้ว”   เช่นน้ำจากการชำระล้างต่างๆ   น้ำจากขบวนการผลิตของโรงงาน     น้ำที่ผ่านการผสมสารเคมีต่างๆ   รวมถึงน้ำที่ถูกใช้แล้วในชีวิตประจำวัน    น้ำจากห้องน้ำห้องส้วมเป็นต้น    ชนิดและประเภทของน้ำเสียก็จะแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับขบวนการที่นำน้ำไปใช้งาน ดังนั้นสารมลทินที่ปนเปื้อนก็จะมีชนิด ประเภท และปริมาณที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งพอที่จะแยกตามประเภทของน้ำเสียออกได้เป็น 2 ประเภทตามการปนเปื้อนของสารมลทิน
*   น้ำเสียที่เป็นอินทรีย์สาร ซึ่งโดยส่วนใหญ่จะเป็นน้ำเสียที่มาจาก อาคาร บ้านเรือน โรงงานอุตสาหกรรมอาหาร เป็นต้น
*   น้ำเสียที่เป็น อนินทรีย์สาร โดยส่วนใหญ่จะเป็นน้ำเสียที่มาจากกระบวนการผลิตของโรงงานอุตสาหกรรม
สารมลทินที่ต้องการบำบัดนั้นขึ้นอยู่กับประเภทหรือชนิดของน้ำเสียและแหล่งน้ำทิ้ง ซึ่งน้ำเสียที่ผ่านขบวนการบำบัดแล้วจะต้อง มีคุณภาพ เป็นไปตามข้อกำหนดของกฎหมายที่เกี่ยวข้องกำหนดไว้  และ เครื่องจักรอุปกรณ์ที่บริษัทฯ   ออกแบบก่อสร้างจัดหาและจัดจำหน่าย   เพื่อการบำบัดน้ำเสียที่มีสารมลทินปนเปื้อนข้างต้น  ได้แก่
Ø ระบบบำบัดทางกายภาพ  (ระบบการกรอง การตกตะกอน ถังดักไขมัน)
Ø  ระบบบำบัดทางเคมี  ( การเพิ่ม-ลดประจุไฟฟ้าของอิเลคตรอน)
Ø ระบบบำบัดชีวภาพ  ( แบบใช้ออกซิเจน และไม่ใช้ออกซิเจน)
Ø ระบบการทำให้ระเหยด้วยความร้อน
Ø ระบบบำบัดด้วยไฟฟ้า 

image002 บําบัด น้ําเสียimage003 บําบัด น้ําเสีย


ระบบการกรองความขุ่นและดูดซับ
ระบบการตกตะกอนด้วยสารเคมี
ระบบการกรองแลกเปลี่ยนประจุ
ระบบการกรองโมเลกุลโดยใช้แผ่นผ้ากรอง และเครื่องกรองน้ำทะเล
ระบบการกำจัดทำลายเชื้อแบคทีเรีย

image004 บําบัด น้ําเสียimage006 บําบัด น้ําเสีย
image008 บําบัด น้ําเสียimage010 บําบัด น้ําเสีย

รูปแบบของ ระบบบำบัดน้ำเสีย อยู่ทั้งหมด 6 แบบ1.ระบบบำบัดน้ำเสียแบบบ่อปรับเสถียร (Stabilization Pond) ถือว่าเป็นแบบที่ค่าใช้จ่ายต่ำมาก แต่ต้องใช้พื้นที่มาก ระบบบำบัดน้ำเสียที่อาศัยธรรมชาติในการบำบัดสารอินทรีย์ในน้ำเสีย ซึ่งแบ่งตามลักษณะการทำงานได้ 3 รูปแบบ คือ บ่อแอนแอโรบิค (Anaerobic Pond) บ่อแฟคคัลเททีฟ (Facultative Pond) บ่อแอโรบิค (Aerobic Pond) และหากมีบ่อหลายบ่อต่อเนื่องกัน บ่อสุดท้ายจะทำหน้าที่เป็นบ่อบ่ม (Maturation Pond) เพื่อปรับปรุงคุณภาพน้ำทิ้งก่อนระบายออกสู่สิ่งแวดล้อม2.ระบบบำบัดน้ำเสียแบบบ่อเติมอากาศ (Aerated Lagoon หรือ AL) ค่าใช้จ่ายต่ำ บำรุงรักษาง่าย แต่ต้องมีค่าใช้จ่ายในส่วนของค่าไฟฟ้าสำหรับเครื่องเติมอากาศ ซึ่งค่อนข้างสูง เป็นระบบบำบัดน้ำเสียที่อาศัยการเติมออกซิเจนจากเครื่องเติมอากาศ (Aerator) ที่ติดตั้งแบบทุ่นลอยหรือยึดติดกับแท่นก็ได้ เพื่อเพิ่มออกซิเจนในน้ำให้มีปริมาณเพียงพอ สำหรับจุลินทรีย์สามารถนำไปใช้ย่อยสลายสารอินทรีย์ในน้ำเสียได้เร็วขึ้นกว่า การปล่อยให้ย่อยสลายตามธรรมชาติ ทำให้ระบบบำบัดน้ำเสียแบบบ่อเติมอากาศสามารถบำบัดน้ำเสียได้อย่างมี ประสิทธิภาพ สามารถลดปริมาณความสกปรกของน้ำเสียในรูปของค่าบีโอดี (Biochemical Oxygen Demand; BOD) ได้ร้อยละ 80-95 โดยอาศัยหลักการทำงานของจุลินทรีย์ภายใต้สภาวะที่มีออกซิเจน (Aerobic) โดยมีเครื่องเติมอากาศซึ่งนอกจากจะทำหน้าเพิ่มออกซิเจนในน้ำแล้วยังทำให้ เกิดการกวนผสมของน้ำในบ่อด้วย ทำให้เกิดการย่อยสลายสารอินทรีย์ได้อย่างทั่วถึงภายในบ่อ3.ระบบบำบัดน้ำเสียแบบบึงประดิษฐ์ (Constructed Wetland) ได้รับความนิยม ใช้เงินลงทุนต่ำ และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างมาก มี 2 ประเภทได้แก่ แบบ Free Water Surface Wetland (FWS) ซึ่งมีลักษณะใกล้เคียงกับบึงธรรมชาติ และแบบ Vegetated Submerged Bed System (VSB) ซึ่งจะมีชั้นดินปนทรายสำหรับปลูกพืชน้ำและชั้นหินรองก้นบ่อเพื่อเป็นตัวกรอง น้ำเสีย หลักการทำงานของระบบ เมื่อน้ำเสียไหลเข้ามาในบึงประดิษฐ์ส่วนต้น สารอินทรีย์ส่วนหนึ่งจะตกตะกอนจมตัวลงสู่ก้นบึง และถูกย่อยสลายโดยจุลินทรีย์ ส่วนสารอินทรีย์ที่ละลายน้ำจะถูกกำจัดโดยจุลินทรีย์ที่เกาะติดอยู่กับพืชน้ำ หรือชั้นหินและจุลินทรีย์ที่แขวนลอยอยู่ในน้ำระบบนี้จะได้รับออกซิเจนจากการแทรกซึมของอากาศผ่านผิวน้ำหรือชั้นหินลงมา ออกซิเจนบางส่วนจะได้จากการสังเคราะห์แสงแต่มีปริมาณไม่มากนัก สำหรับสารแขวนลอยจะถูกกรองและจมตัวอยู่ในช่วงต้น ๆ ของระบบ การลดปริมาณไนโตรเจนจะเป็นไปตามกระบวนการไนตริฟิเคชั่น (Nitrification) และดิไนตริฟิเคชั่น (Denitrification) ส่วนการลดปริมาณฟอสฟอรัสส่วนใหญ่จะเกิดที่ชั้นดินส่วนพื้นบ่อ และพืชน้ำจะช่วยดูดซับฟอสฟอรัสผ่านทางรากและนำไปใช้ในการสร้างเซลล์ นอกจากนี้ระบบบึงประดิษฐ์ยังสามารถกำจัดโลหะหนัก (Heavy Metal) ได้บางส่วนอีกด้วย4.ระบบบำบัดน้ำเสียแบบแอกทิเวเต็ดสลัดจ์ (Activated Sludge Process) ใช้พื้นที่น้อย แต่ต้องมีอุปกรณ์ ต่างๆ มาก เป็นวิธีบำบัดน้ำเสียด้วยวิธีการทางชีววิทยา โดยใช้แบคทีเรียพวกที่ใช้ออกซิเจน (Aerobic Bacteria) เป็นตัวหลักในการย่อยสลายสารอินทรีย์ในน้ำเสีย ระบบเแอกทิเวเต็ดสลัดจ์เป็นระบบบำบัดน้ำเสียที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย สามารถบำบัดได้ทั้งน้ำเสียชุมชนและน้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม โดยทั่วไปจะประกอบด้วยส่วนสำคัญ 2 ส่วน คือ ถังเติมอากาศ (Aeration Tank) และถังตกตะกอน (Sedimentation Tank)โดยน้ำเสียจะถูกส่งเข้าถังเติมอากาศ ซึ่งมีสลัดจ์อยู่เป็นจำนวนมากตามที่ออกแบบไว้ สภาวะภายในถังเติมอากาศจะมีสภาพที่เอื้ออำนวยต่อการเจริญเติบโตของ จุลินทรีย์แบบแอโรบิค จุลินทรีย์เหล่านี้จะทำการย่อยสลายสารอินทรีย์ในน้ำเสียให้อยู่ในรูปของ คาร์บอนไดออกไซด์และน้ำในที่สุด น้ำเสียที่ผ่านการบำบัดแล้วจะไหลต่อไปยังถังตกตะกอนเพื่อแยกสลัดจ์ออกจากน้ำ ใส สลัดจ์ที่แยกตัวอยู่ที่ก้นถังตกตะกอนส่วนหนึ่งจะถูกสูบกลับเข้าไปในถังเติม อากาศใหม่เพื่อรักษาความเข้มข้นของสลัดจ์ในถังเติมอากาศให้ได้ตามที่กำหนด และอีกส่วนหนึ่งจะเป็นสลัดจ์ส่วนเกิน (Excess Sludge) ที่ต้องนำไปกำจัดต่อไป สำหรับน้ำใสส่วนบนจะเป็นน้ำทิ้งที่สามารถระบายออกสู่สิ่งแวดล้อมได้5.ระบบบำบัดน้ำเสียคลองวนเวียน (Oxidation Ditch) เหมาะกับชุมชน ขนาดเล็ก บำบัดน้ำเสียโดยอาศัยจุลินทรีย์มากมายหลายชนิด โดยจุลินทรีย์ที่สำคัญได้แก่ แบคทีเรีย เชื้อรา และโปรโตซัว เป็นต้น ซึ่งสภาวะที่ใช้ในการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์จะเป็นสภาวะแอโรบิค โดยจุลินทรีย์จะใช้สารอินทรีย์ที่อยู่ในน้ำเสียเป็นแหล่งอาหารและพลังงาน เพื่อการเจริญเติบโตและเพิ่มจำนวนของจุลินทรีย์ในระบบ จากนั้นจึงแยกจุลินทรีย์ออกจากน้ำเสียที่ผ่านบำบัดแล้ว โดยวิธีการตกตะกอนในถังตกตะกอน (Sedimentation Tank) เพื่อให้ได้น้ำใส (Supernatant) อยู่ส่วนบนของถังตกตะกอน ซึ่งมีคุณภาพน้ำดีขึ้น และสามารถระบายออกสู่สิ่งแวดล้อมได้6.ระบบบำบัดน้ำเสียแบบแผ่นจานหมุนชีวภาพ (Rotating Biological Contactor, RBC) เหมาะสำหรับพื้นที่อุตสาหกรรม เพราะดูแลรักษาง่าย แต่มีค่าอุปกรณ์ต่างๆค่อนข้างสูง เป็นการบำบัดน้ำเสียอาศัยจุลินทรีย์แบบใช้อากาศจำนวนมากที่ยึดเกาะติดบนแผ่น จานหมุนในการย่อยสลายสารอินทรีย์ในน้ำเสีย โดยการหมุนแผ่นจานผ่านน้ำเสีย ซึ่งเมื่อแผ่นจานหมุนขึ้นมาสัมผัสกับอากาศก็จะพาเอาฟิล์มน้ำเสียขึ้นสู่ อากาศด้วย ทำให้จุลินทรีย์ได้รับออกซิเจนจากอากาศ เพื่อใช้ในการย่อยสลายหรือเปลี่ยนรูปสารอินทรีย์เหล่านั้นให้เป็น ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ น้ำ และเซลล์จุลินทรีย์ ต่อจากนั้นแผ่นจานจะหมุนลงไปสัมผัสกับน้ำเสียในถังปฏิกิริยาอีกครั้ง ทำให้ออกซิเจนส่วนที่เหลือผสมกับน้ำเสีย ซึ่งเป็นการเติมออกซิเจนให้กับน้ำเสียอีกส่วนหนึ่ง สลับกันเช่นนี้ตลอดไปเป็นวัฏจักร แต่เมื่อมีจำนวนจุลินทรีย์ยึดเกาะแผ่นจานหมุนหนามากขึ้น จะทำให้มีตะกอนจุลินทรีย์บางส่วน หลุดลอกจากแผ่นจานเนื่องจากแรงเฉือนของการหมุน ซึ่งจะรักษาความหนาของแผ่นฟิล์มให้ค่อนข้างคงที่โดยอัตโนมัติ ทั้งนี้ตะกอนจุลินทรีย์แขวนลอยที่ไหลออกจากถังปฏิกิริยานี้ จะไหลเข้าสู่ถังตกตะกอนเพื่อแยกตะกอนจุลินทรีย์และน้ำทิ้ง ทำให้น้ำทิ้งที่ออกจากระบบนี้มีคุณภาพดีขึ้นดังนั้นคงต้องพิจรณาว่าพื้นที่หรือโรงงานของท่านเหมาะกับรูปแบบของ ระบบบำบัดน้ำเสีย ประเภทไหน

Friday, June 6, 2014

ระบบ BOILER

1. หม้อไอน้ำแบบท่อไฟ 80%

หม้อไอน้ำแบบท่อไฟ เป็นหม้อไอน้ำที่มีโครงสร้างง่ายๆ ความร้อนที่เกิดจากการเผาไหม้ของเชื้อเพลิงในห้องเผาไหม้ (Fire Box) ถูกส่งผ่านเข้าภายในท่อเหล็กซึ่งมีจำนวนมาก ประกอบอยู่ตามยาวของหม้อไอน้ำ ภายนอกของท่อไฟมีน้ำอยู่โดยรอบ ความร้อนจากการเผาไหม้ จะทำให้น้ำที่อยู่รอบนอกท่อไฟและห้องเผาไหม้ร้อนและเดือดเปลี่ยนสภาพเป็นไอน้ำ ตลอดความยาวที่ไฟวิ่งผ่านตั้งแต่ห้องเชื้อเพลิงไปจนถึงปล่องควัน


หม้อไอน้ำประเภทนี้ ส่วนมากมีขนาดเล็กความดันต่ำ โดยทั่วไปที่ใช้ความดันไม่ควรเกิน 150 ปอนด์ต่อตารางเมตรนิ้ว อัตราการผลิตไอน้ำมีขนาดตั้งแต่ 15,000 ปอนด์ต่อชั่วโมงลงมา ไอน้ำที่ได้
นำไปใช้กับเครื่องจักรไอน้ำและเครื่องจักรที่ให้ความร้อนต่างๆ หม้อไอน้ำแบนี้ยังใช้กันมาก เช่น
 หัวจักรรถไฟ, เรือกลไฟ, โรงสีไฟ, โรงอบไม้, โรงงานกระดาษ, โรงงานอาหารสัตว์,
โรงงานผลิตอาหารสำเร็จรูป, โรงงานสัปปะรดกระป๋อง เป็นต้น

ข้อดีของหม้อไอน้ำแบบท่อไฟ

  1. โดยที่น้ำอยู่นอกท่อไฟ และมีปริมาตรมากจึงทำให้หม้อไอน้ำแบบน้ำไม่สั่นหรือไม่สะเทือนได้ง่ายขณะปฏิบัติงาน แม้ว่าอัตราใช้ไอน้ำอาจจะไม่สม่ำเสมอตลอดเวลา หรืออัตราการเผาไหม้ไม่คงที่สม่ำเสมอก็ตาม หม้อไอน้ำแบบท่อไฟจึงง่ายต่อการใช้งาน และแน่นอนมาก เหตุผลก็คือ เมื่อหม้อไอน้ำมีน้ำบรรจุอยู่ด้วยปริมาณมากๆ จึงเท่ากับเป็นการสะสมพลังงานเป็นจำนวนมาก พลังงานจำนวนนี้จะอยู่ในรูปของความดันและอุณหภูมิ เมื่อใช้ไอน้ำไปความดันก็ไม่ค่อยเปลี่ยน แปลงมาก
  2. ราคาถูก ดังนั้น ในโรงงานอุตสาหกรรมขนาดเล็ก จึงใช้หม้อไอน้ำแบบท่อไฟเป็นส่วนใหญ่
  3. ไม่ต้องใช้น้ำเลี้ยงที่มีคุณภาพดีนัก เพราะตะกรันเกาะอยู่ที่ผิวนอกของท่อทำความสะอาดง่ายจึงเท่ากับเป็นการลดค่าใช้จ่ายในการปรับสภาพน้ำในบางแห่งใช้น้ำที่ผ่านการกรองเท่านั้นก็ใช้ได้

ข้อเสียของหม้อไอน้ำแบบท่อไฟ

  1. การเริ่มติดเตาชนิดนี้กินเวลานาน เพราะมีน้ำบรรจุอยู่มากกินเวลาเป็นชั่วโมงๆ กว่าจะได้อุณหภูมิ
  2. และความดันที่ต้องการ
  3. เมื่อเทียบน้ำหนักต่อจำนวนไอน้ำทั้งหม้อไอน้ำแบบท่อไฟกับหม้อไอน้ำแบบท่อน้ำ หม้อไอน้ำ
  4. แบบท่อไฟจะหนักกว่า
  5. ประสิทธิภาพในการถ่ายเทความร้อน (Heat Transfer Efficency) ไม่ดีเท่าที่ควร เพราะการ
  6. ถ่ายเทความร้อนไม่ได้ใช้การแผ่รังสีความร้อน (Radiation) ให้เป็นประโยชน์เพียงพอ
  7. ในกรณีเกิดระเบิดจะมีอันตรายมาก เพราะมีทั้งน้ำร้อนและไอน้ำจำนวนมากสะสมอยู่ภายใน
  8. หม้อไอน้ำแบบท่อไฟไม่สามารถผลิตไอน้ำที่มีความดันสูงๆ ได้เกิน 250 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว 
  9. เพราะพื้นที่ของผิวน้ำที่สัมผัสกับไอน้ำมีมาก ไอน้ำจึงอยู่ในรูปไอน้ำอิ่มตัว (Satura ted Steam)


2. หม้อไอน้ำแบบท่อน้ำ 15%

Water Tube Boiler - หม้อ
ไอน้ำประเภทนี้ การสร้างมีบาง
อย่างที่แตกต่างกับหม้อไอน้ำ
แบบท่อไฟคือ จัดทำให้น้ำภาย
ในหม้อไอน้ำแยกลงมา
อยู่ในหมู่ท่อน้ำและภายนอก
ของท่อเหล่านี้ได้รับความร้อน
จากเปลวไฟ
จากการเผาไหม้ของเชื้อเพลิง
ตลอดทางที่ไฟผ่านหมู่ท่อน้ำ
 หม้อไอน้ำประเภท
ท่อน้ำเป็นหม้อไอน้ำขนาดใหญ่
ความดันไอน้ำตั้งแต่ 150 ปอนด์
ต่อตาราง
นิ้วขึ้นไป และสามารถผลิตไอน้ำ
ได้มาก ไอน้ำที่ผลิตได้ส่วนมากจะเป็นไอน้ำร้อนจัด (Superheated Steam) ใช้กับเครื่องกังหันไอน้ำ
(Power Plant), โรงงานน้ำตาล, โรงงานกระดาษ, โรงกลั่นน้ำมัน, โรงงานทำน้ำมันปาล์ม, เรือเดินทะเล
ฯลฯ

ข้อดีของหม้อไอน้ำแบบท่อน้ำ

  1. การไหลเวียนของน้ำกระทำได้ดี โดยธรรมชาติ เนื่องจากการจัดวางท่อจะอยู่ในลักษณะเป็นวงจร เมื่อการไหลเวียนดีการถ่ายความร้อนก็ดีด้วย
  2. การถ่ายเทความร้อน ด้วยการแผ่รังสีกระทำได้ดี
  3. ใช้เวลาสั้นในการเริ่มจุดเตา
  4. สามารถผลิตไอน้ำที่มีความดันสูง ๆ ได้
  5. เมื่อเกิดการระเบิดจะระเบิดเพียงท่อเดียวหรือสองท่อ ซึ่งเท่ากับเป็นการลดอันตรายลง

ข้อเสียของหม้อไอน้ำแบบท่อน้ำ

  1. ราคาแพงกว่า
  2. ทำความสะอาดลำบาก
  3. เมื่อมีการใช้งานที่ต้องการความดันไม่คงที่ ไอน้ำก็จะไม่คงที่ด้วย
  4. ต้องใช้น้ำเลี้ยงที่มีคุณภาพที่ดีคือ ต้องใช้น้ำอ่อนมากๆ น้ำที่ใช้จึงมีราคาแพง และยังอาจพบ
  5. ปัญหาการกำจัดน้ำเสียอีกด้วย


3. หม้อไอน้ำไฟฟ้า 5%

หม้อไอน้ำที่ใช้งานในประเทศไทยประมาณ 80% จะเป็นหม้อไอน้ำแบบท่อไฟที่มีความดันอนุญาตใช้งานสูงสุด 10 บาร์ (150 psi ) ส่วนใหญ่เป็นการใช้งานไอน้ำในกระบวนการให้ความร้อน ( heating process ) ที่มีอุณหภูมิไม่เกิน 180 องศาเซลเซียส เนื่องจากถ้าอุณหภูมิสูงกว่านี้ หรือใช้ในงานทางด้านกำลัง เช่น การหมุนกังหันไอน้ำ จะใช้หม้อไอน้ำแบบท่อน้ำที่มีความดันอนุญาตใช้งานสูงขึ้น


นอกจากนี้ ในกระบวนการให้ความร้อนที่มีอุณหภูมิสูงกว่า 210 องศาเซลเซียส บางโรงงานอุตสาหกรรมอาจจะใช้หม้อต้มน้ำมัน
( hot oil, thermal oil generator ) แทนหม้อไอน้ำแบบท่อน้ำ


ทำไมต้องตรวจสอบหม้อไอน้ำ

Boiler ก็ไม่แตกต่างอะไรไปจากรถที่ต้องการการ
บำรุงรักษาและการตรวจสอบ เป็นกิจวัตรที่ต้อง
ทำอย่างต่อเนื่อง บุคคลากรที่ทำหน้าที่ในการ
บำรุงรักษา ผู้ควบคุมหม้อไอน้ำ ผู้ตรวจสอบหม้อ
ไอน้ำ ล้วนแต่เป็นองค์ประกอบที่มีความสำคัญ
เป็นอย่างยิ่งในการใช้งานหม้อไอน้ำ


Boiler ควรได้รับการตรวจสอบทั้งสภาพภายใน
และภายนอกเพื่อพิจารณาสภาพ ณ ปัจจุบันของ
 boiler วิศวกรผู้ตรวจและทดสอบหม้อไอน้ำจะ
ตรวจและทดสอบอุปกรณ์ความปลอดภัยทุกตัวที่อยู่กับ boiler และอุปกรณ์ความปลอดภัยทุกตัวต้องอยู่ในสภาพที่ใช้งานได้


น้ำแห้งหรือระดับน้ำที่ต่ำ การระเบิดในห้องเผาไหม้ ความดันและอุณหภูมิที่สูงเกิน ล้วนแล้วแต่เป็นสาเหตุ
หลักของการเกิดอุบัติเหตุของหม้อไอน้ำและสิ่งสำคัญที่เป็นผลโดยตรงคือการผิดพลาดหรือปราศจากการ
ดูแลและมองข้ามอุปกรณ์ซึ่งเกี่ยวกับความปลอดภัย ความบกพร่องในการดูแลรักษา หรือผู้ควบคุมหม้อไอ
น้ำขาดการฝึกฝนหรือขาดความชำนาญ จากสาเหตุที่กล่าวมานี้ทำไมถึงมีความจำเป็นที่ต้องมี วิศวกร
ผู้ตรวจและทดสอบหม้อไอน้ำ


เนื่องจากหม้อไอน้ำเป็นเครื่องจักรที่อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สินของโรงงานและผู้ที่อยู่อาศัยใกล้เคียง ทางราชการได้ตระหนักถึงอันตรายเหล่านี้จึงได้ออกกฎหมายเพื่อควบคุมการใช้หม้อไอน้ำให้มีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น สำหรับหม้อไอน้ำของโรงงานอุตสาหกรรมก็มีกฎหมายควบคุมการใช้งานเพื่อความปลอดภัย โดยกระทรวงอุตสาหกรรมและกระทรวงแรงงาน แต่สำหรับหม้อไอน้ำที่ใช้ในโรงแรม โรงพยาบาล และสถานศึกษา จะถูกควบคุมโดยกระทรวงแรงงาน นอกจากนี้ไอเสียจากปล่องไฟยังถูกควบคุมโดยกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม


ส่วนประกอบโดยทั่วไปของหม้อน้ำ
เปลือกหม้อไอน้ำ (Boiler Shell)
เปลือกหม้อไอน้ำ (Boiler Shell)
ผนังหน้าและหลัง (End Plate)
ผนังหน้าและหลัง (End Plate)
ท่อไฟใหญ่ (Main Furnace)
ท่อไฟใหญ่ (Main Furnace)
ท่อน้ำ (Water Tube)
ท่อน้ำ (Water Tube)
Drum and Header
Drum and Header
เหล็กยึดโยง (Stay)
เหล็กยึดโยง (Stay)
ช่องคนลอด (Man Hole), ช่องหัวลอด (Head Hole), ช่องมือลอด (Hand Hole)
ช่องคนลอด (Man Hole), ช่องหัวลอด (Head Hole), ช่องมือลอด (Hand Hole)


อุปกรณ์ประกอบของหม้อน้ำที่สำคัญ
วาล์วนิรภัย (Safety Valve)
วาล์วนิรภัย
(Safety Valve)
วาล์วจ่ายไอ (Main Steam Valve)
วาล์วจ่ายไอ
(Main Steam Valve)
วาล์วระบายน้ำทิ้ง (Surface and Bottom Blow-Down Valve)
วาล์วระบายน้ำทิ้ง (Surface and Bottom Blow-Down Valve)
ปั้มน้ำ (Water Pump)
ปั้มน้ำ
(Water Pump)
อุปกรณ์ควบคุมระดับน้ำ (Water Level Control and Gauge)
อุปกรณ์ควบคุมระดับน้ำ (Water Level Control and Gauge)
เกจวัดความดัน (Pressure Gauge)
เกจวัดความดัน
(Pressure Gauge)
สวิทซ์ควบคุมความดัน (Pressure Switch)
สวิทซ์ควบคุมความดัน
(Pressure Switch)
หัวฉีด (Burner)
หัวฉีด
(Burner)
ฉนวน (Insulation)
ฉนวน
(Insulation)


ขนาดและแรงม้าหม้อน้ำ

อัตราการผลิตไอน้ำ (Steam Rate) หมายถึง ความสามารถผลิตไอของหม้อน้ำได้ในเวลา 1 ชั่วโมง
ที่ความดันบรรยากาศ โดยไอน้ำจะมีอุณหภูมิ
100 องศา C หน่วยที่ใช้เรียกเป็นกิโลกรัม/ชั่วโมง หรือตัน/ชั่วโมง
แรงม้าหม้อไอน้ำ (Boiler Horsepower)
เป็นหน่วยวัดอัตราการผลิตไอน้ำของหม้อน้ำ
อีกแบบหนึ่งโดยกำหนดว่า 1 แรงม้าหม้อน้ำหมาย
ถึง หม้อน้ำที่มีความสามารถผลิตไอน้ำได้ 34.5
ปอนด์ในเวลา 1 ชั่วโมง โดยการทำให้น้ำในหม้อน้ำอุณหภูมิ 100 องศา C กลายเป็นไอ


ไอดงหรือไอแห้งหรือร้อนยิ่งยวด (Superheated Steam) หมายถึง การทำไอ
น้ำอิ่มตัวให้มีอุณหภูมิสูง
มากขึ้นที่ความดันเดิม
ได้มาจากกากรผ่านไอน้ำ
อิ่มตัวเข้าไปในขดท่อที่ถูก
เผาซ้ำจนไอน้ำมีอุณหภูมิ
สูงขึ้น ไอดงเหมาะสำหรับ
ใช้ขับเคลื่อนกังหันไอน้ำ


ประสิทธิภาพของหม้อไอน้ำ
(Boiler Efficiency) เป็นตัว
เลขแสดงความสามารถของ
หม้อน้ำที่เปลี่ยนพลังงาน
ความร้อนของเชื้อเพลิงให้กลายเป็นพลังงานที่ได้จากไอน้ำ คิดเป็นเปอร์เซ็นต์


ประสิทธิภาพหม้อน้ำ   =   ปริมาณไอน้ำที่ผลิตได้ x ค่าความร้อนไอน้ำ   x 100
ปริมาณเชื้อเพลิงที่ใช้ x ค่าความร้อนเชื้อเพลิง



สรุปสาเหตุที่หม้อน้ำระเบิด

  1. น้ำแห้งแล้วปั๊มน้ำเข้าไป
  2. ตะกรันหนามาก
  3. ใช้ความดันเกินความสามารถของหม้อไอน้ำที่ทนได้
  4. ขาดการตรวจสอบเป็นเวลานาน
  5. หม้อน้ำไม่ได้มาตรฐาน


Boiler & Pressure Vessel Service
นอกเหนือจากงานตรวจวิเคราะห์ประจำปีตามกฎหมายโดยสามัญวิศวกรตรวจและทดสอบหม้อน้ำที่ได้รับ
อนุญาตจากกรมโรงงานอุตสาหกรรม ทางบริษัทฯ ยังมีทีมช่างเทคนิคที่มีความชำนาญและวิศวกรควบคุม
ดูแลงานซ่อมหรือสร้าง ให้เป็นไปตามหลักวิศวกรรม ไว้คอยให้บริการกับท่านอันเกิดจากสาเหตุหรือความ
บกพร่องต่างๆ หลังจากการตรวจวิเคราะห์อันสืบเนื่องมาจากอายุการใช้งาน ขาดการบำรุงรักษาหรือการ
ต่อเติม อาทิเช่น
  1. ปรับแต่งการเผาไม้ และการตรวจวัดประสิทธิภาพหม้อไอน้ำ โดยเครื่องวัดก๊าซไอเสียและประสิทธิ
  2. ภาพการเผาไหม้แบบพกพา TESTO-340
  3. ตรวจสอบมลพิษหม้อไอน้ำตามที่กฏหมายกำหนด
  4. ตรวจวัดความหนาของ ท่อน้ำ ท่อไฟ และผนังหม้อไอน้ำ
  5. รับรองสภาพการใช้งานว่ามีสภาพเหมาะสมสามารถนำไปใช้งานได้อย่างปลอดภัยตามข้อกำหนดของมาตรฐานหรือข้อกำหนดของกฎหมาย โดยวิศวกรควบคุมระดับสามัญวิศวกรและวุฒิวิศวกร
  6. การบริการล้าง และซ่อมบำรุง บลาๆๆๆๆ (งานช่างโจ)
  7. งานซ่อม Boiler จำหน่าย Boiler ทั้งเก่าและใหม่
  8. งานติดตั้งเคลื่อนย้าย Boiler ทุกขนาด
  9. งานตรวจสอบ ออกเอกสารรับรอง โดยทีมวิศวกรผู้ชำนาญงาน
  10. งานล้างตะกรันและจำหน่ายน้ำยาเคมีป้องกันตะกรันและสนิม
  11. งานบริการรายปี Yearly Service Contract
  12. ซ่อมและจำหน่ายหัวพ่นไฟทุกระบบพร้อมอุปกรณ์และอะไหล่
  13. งานตรวจเช็ค ปรับแต่ง การเผาไหม้ด้วยเครื่องวัดประสิทธิภาพ
  14. งานหุ้มฉนวน งานเดินท่อต่าง ๆ ท่อน้ำ ท่อสตีม ปล่องควัน
  15. งานซ่อมแซมออกแบบปูนทนไฟ
  16. ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับ Boiler ทุกระบบทั้งเชื้อเพลิงแข็งและน้ำมัน แก็ส LPG